แฟรนไชส์ คืออะไร
แฟรนไชส์ เป็นวิธีการกระจายสินค้าที่ต่างจากที่คนส่วนมากใช้ และเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบของตัวมันเองที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การเริ่มทำแฟรนไชส์จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมาย นักบัญชี ผู้วางกลยุทธ์และผู้ชำนาญ การด้านการขาย การดำเนินงาน และการตลาด
เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเป็นหมวดหมู่ขึ้น จึงได้แยกหัวข้อคำศัพท์ออกมา เพราะมีอยู่หลายคำที่น่าสนใจและจำเป็นจะต้องรู้ ถ้าหากคิดจะเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ เพราะบางคนยังไม่รู้ว่า คนให้สิทธิแฟรนไชส์หรือผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ รวมไปถึงบรรดาค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องจ่ายนั้นเขาเรียกว่าอะไรกันแน่ เสียก่อน
แฟรนไชซิ่ง (Franchising) หมายถึง
การที่เจ้าของสิทธิ (Franchisor) ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหาร และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาขึ้น ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ
แฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง
ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วย ลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
1.จะต้องมีเจ้าของสิทธิถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิอย่างใกล้ชิด
2.ผู้รับสิทธิ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียมเริ่มแรก (Franchise Fee)
3.ผู้รับสิทธิจะต้องจ่าย ค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ (Royalty Fee)
แฟรนไชซอร์ (Franchisor)
หมายถึง เจ้าของสิทธิ ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการทำธุรกิจ จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิการดำเนินการขายชื่อการค้าของตัวเองให้แก่ผู้อื่น อย่างเช่น เชสเตอร์กริลล์ เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภทไก่ย่าง และสูตรอาหาร มีรูปแบบการจัดการร้าน การจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแล้วขายระบบทั้งหมด ให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ และเป็นผู้ขาย แฟรนไชส์ให้ผู้อื่นเรียกว่าแฟรนไชซอร์
แฟรนไชซี (Franchisee)
หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ ในการดำเนินธุรกิจ ตามระบบที่เจ้าของสิทธิได้จัดเตรียมไว้รวมทั้งใช้ชื่อทางการค้าเครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ อันนั้นรวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการด้วย ซึ่งก็คือผู้ซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง
แฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)
หมายถึง ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆให้แก่บริษัทแม่
รอยัลตี้ฟี (Royalty Fee)
หมายถึง เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อเดือน หรือต่อปี จากยอดขายหรือบางทีอาจจะเรียกเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้าก็มี
Advertising Fee
หมายถึง ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้เพื่อการโฆษณาในส่วนนี้แฟรนไซซอร์อาจจะเรียกเก็บหรือไม่เก็บก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน
แฟรนไชส์คืออะไร?
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นวิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและเป็นช่องทางในการจัดจำหน่าย เพื่อต่อยอดธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระ ที่เรียกว่า "แฟรนไชส์ซี" ส่วนเจ้าของธุรกิจ ให้สิทธิเครื่องหมายการค้า รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการทำงานทั้งหมด เพื่อให้รูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจในทุกสาขา อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
รูปแบบของการให้สิทธิแฟรนไชส์
1. แฟรนไชส์แบบหน่วยเดียว หรือ แฟรนไชส์บุคคล ( Individual Franchise or Single Unit Franchise ) เป็นรูปแบบการให้สิทธิแฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือนิติบุคคล องค์กรหนึ่งองค์กรใด ในการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิจากแฟรนไชส์ซอร์เพียง 1 แห่งภายในทำเลที่ตั้ง หรือพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามสัญญา
2. แฟรนไชส์แบบหลายหน่วย หรือ แบบพัฒนาพื้นที่ ( Multiunit Franchise or Area Development Franchise ) เป็นรูปแบบการให้สิทธิแฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลองค์กรหนึ่งองค์กรใด ในลักษณะการกำหนดเป็นพื้นที่รับสิทธิที่จะสามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิจากแฟรนไชส์ซอร์ได้มากกว่า 1 แห่ง ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน
3. แฟรนไชส์แบบ Subfranchise เป็นการให้สิทธิแก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล ในพื้นที่รับสิทธิที่กำหนด เพื่อให้บุคคลกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลดังกล่าว ทำการขยายการให้สิทธิหน่วยย่อยแบบ Individual Franchise หรือ Multiunit Franchise แก่บุคคลอื่นในพื้นที่ต่อไป
ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์
ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์
การทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์มีข้อดีหลายประการ กล่าวคือ
1. มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ได้พัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับจากบุคคลทั่วไปแล้ว
2. ย่นระยะเวลาในการเรียนรู้ แฟรนไชส์ซอร์ได้ทุ่มเทเวลาและเงินไปเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะสร้างพัฒนาและบันทึกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซี่ จะได้รับประโยชน์จากการรวบรวมความเชี่ยวชาญและความรู้นี้จากแฟรนไชส์ซอร์ดังนั้น จึงเป็นการประหยัดระยะเวลาในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างมาก
3. เครื่องหมายการค้าได้รับการยอมรับ ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ย่อมเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคมาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้น แฟรนไชส์ซี่จะได้รับประโยชน์จากการที่เครื่องหมายการค้าได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
4. การประหยัดต่อขนาดจากการซื้อทีละมาก ๆ ผู้ประกอบกิจการขนาดย่อมโดยทั่วไป มักพบว่าเป็นเรื่องยากที่ตนจะสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาถูก เนื่องจากปริมาณในการสั่งซื้อที่น้อย อย่างไรก็ตามเมื่อมีการทำแฟรนไชส์ และแฟรนไชส์ซี่สามารถรวบรวมความต้องการสั่งซื้อสินค้าเข้าด้วยกันและเพิ่มอำนาจการต่อรองของตน ทำให้สามารถซื้อสินค้าและบริการในต้นทุนที่ถูกลงได้
5. มีการโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน แฟรนไชส์ซอร์จะดูแลการโฆษณา การส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการของตนเป็นประจำอยู่แล้ว แฟรนไชส์ซีบางรายอาจจะร่วมรับผิดชอบโดยการจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการโฆษณา (Advertising Fee) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ตามแต่จะตกลงกัน
6. ได้รับการฝึกอบรมและถ่ายโอนความเชี่ยวชาญ แฟรนไชส์ซี่ ย่อมได้รับการฝึกอบรม และถ่ายทอดความรู้จากแฟรนไชส์ซอร์เพื่อส่งเสริมความสำเร็จ เนื่องจากความสำเร็จและผลกำไรของแฟรนไชส์ซีย่อมเกี่ยวโยงกับความสำเร็จของแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง
7. ได้รับบริการช่วยเหลือจากผู้ขายแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์จะให้ความช่วยเหลือ แนะนำและให้บริการต่าง ๆ แก่แฟรนไชส์ซี ตามข้อตกลง ตลอดอายุของสัญญา
ข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นอกจากจะมีข้อดีหลายประการแล้ว ก็ยังมีข้อเสียเช่นกัน กล่าวคือ
1. ขาดอิสระในการดำเนินธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่ผู้ขายแฟรนไชส์กำหนดไว้เท่านั้น
2. ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ ถึงแม้การทำธุรกิจแฟรนไชส์จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงจากการซื้อแฟรนไชส์ก็ตามแต่อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีหลักประกันที่แน่นอน เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
3. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์บางธุรกิจ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงในการได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบกิจการ เช่น ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า ต้องลงทุนในการตกแต่งร้าน เป็นต้น
ลักษณะของแฟรนไชส์ที่ดี
1. มีระบบในการบริหารจัดการที่ดี เช่น วิธีการผลิตสินค้า รูปแบบการบริการ ระบบไอทีในการจัดการ การฝึกอบรม
2. มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เช่น แบรนด์เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคจำนวนมาก การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่ดีและต่อเนื่อง
3. มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะต้องเปิดดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีจำนวนสาขา มากกว่า 1 แห่งในทำเลที่แตกต่างกัน
4. มีความสำเร็จและมีกำไร เช่น มีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็งและมั่นคง
5. มีคุณธรรม เช่น สัญญาจะต้องมีความยุติธรรม บริษัทและผู้บริหารมีธรรมาภิบาล
6. มีคู่มือในการปฏิบัติงาน เช่น รายละเอียดการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดร้านไปจนถึงปิดร้าน ระบุบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
เลือกแฟรนไชส์อย่างไร
การจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ของใครมาทำนั้นผู้ซื้อควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นต่างกับผู้อื่น
2. มีความรู้ ( Know - How ) ที่เป็นระบบ
3. มีตัวอย่างความสำเร็จแสดงให้เห็น
4. มีประสบการณ์ในธุรกิจนานพอ
5. มีชื่อเสียงดี
6. ธุรกิจมีการเติบโตและมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
7. มีเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นธรรม
8. ใช้งบประมาณในการลงทุนที่เหมาะสม
สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ เต๊ะจุ้ยเตี๋ยวหมึก
ติดต่อคุณจุ้ย
Tel. : 089 - 519 5442
Line : taejuifoods
ความคิดเห็น